ตอนที่ 9 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย

         แผนพัฒนาผลิตกำลังไฟฟ้า 2007 (Power Development Plan : PDP 2550-2564) ซึ่งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้อนุมัติแผนพัฒนาผลิตกำลังไฟฟ้า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในประเทศไทย ช่วงปี พ.ศ. 2563-2564 ขนาด 4,000 เมกกะวัตต์ โดยกำหนดให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ภายในปี พ.ศ. 2563 ขนาด 2,000 เมกกะวัตต์ และในปี พ.ศ. 2564 อีก 2,000 เมกกะวัตต์ 
             แต่ในปัจจุบันความรู้เรื่อง นิวเคลียร์ของเยาวชนและสาธารณชน ยังคิดว่า พลังงานนิวเคลียร์เป็นสิ่งที่มีโทษอย่างมหันต์ต่อมนุษย์ เนื่องจากเรามักจะได้ทราบข่าวเกี่ยวกับนิวเคลียร์ในทางลบ เช่น การสร้างและใช้อาวุธนิวเคลียร์ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิด มีคนขโมยอุปกรณ์นิวเคลียร์ที่เลิกใช้แล้วแต่ยังมีพลังงานนิวเคลียร์หลงเหลืออยู่ ทำให้เกิดการเจ็บป่วยร้ายแรง
อ่านเพิ่มเติม

หน่วยงานทางด้านนิวเคลียร์ในประเทศไทย

หน่วยงานด้านนิวเคลียร์ในประเทศไทย
ในประเทศไทย มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับด้านนิวเคลียร์ และหน่วยงานที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์อยู่หลายหน่วยงาน ดังนี้
ก. ภาคราชการ
1. กระทรวงวิทยาศาสตร์ สืบเนื่องจากการประชุม คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ 9/2519 มีมติให้แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการ วางนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เสนอแนะให้จัดตั้งกระทรวง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงานขึ้น แต่ยังไม่ได้มีข้อยุติ ก็มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเสียก่อน รัฐบาลต่อมา โดยพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มอบให้คณะที่ปรึกษาระเบียบบริหารของนายกรัฐมนตรี เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขประกาศคณะปฏิวัติ ซึ่งสภามีมติรับหลักการและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 96 ตอนที่ 40 มีผลใช้เมื่อ 24 มีนาคม 2522 เป็นต้นมา และได้เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2535 เป็นกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อ 2 ตุลาคม 2545 ในบทบาทที่ชัดเจนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (รายละเอียดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก http://www.most.go.th) โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยและการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
อ่านเพิ่มเติม